วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หมายถึง "การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์
และมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของชนิด ปริมาณ และสัดส่วนของการอยู่ร่วมกันภายในระบบสิ่งแวดล้อมนั้นๆ"
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในแง่การศึกษาสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาท และความสำคัญต่อมนุษย์เป็นหลักสำคัญ
บทบาทของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น มนุษย์เท่านั้นที่เป็นผู้สร้าง
ขึ้น วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมนั้นเป็นการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้เพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อมอย่าง
ซึ่งขั้นตอนเหล่านั้นได้แก่
- การสังเกต (observation)
- การบันทึก (record)
- การทดลอง (experiment)
- ขบวนการให้เหตุผล (Resoning process)
ถ้าดำเนินตามขบวนทางวิทยาศาสตร์แล้ว ก็จะได้ข้อเท็จจริงต่างๆที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ
มนุษย์ ในทำนองเดียวกันมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเป็นทางดีหรือเลวก็ได้ ทั้งนี้และทั้ง
นั้นต้องพิจารณาพฤติกรรมในรูปแบบที่สิ่งแวดล้อมนั้นจะแสดงออกต่อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมต่อสิ่งแวดล้อม
หรือสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์ มนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งมนุษย์ต่อมนุษย์ เหล่านี้เป็นต้น
การมีชีวิตอยู่ของมนุษย์นั้นต้องการปัจจัยสี่เป็นความต้องการพื้นฐาน เมื่อมนุษย์ต้องการสิ่งแวดล้อมต่างๆ มา
บริการตัวเองให้มีชีวิตอยู่ได้ จำเป็นต้องมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลักษณะเช่นนี้ ทรัพยากรธรรมชาติจะมีโอกาส
หมดเปลืองไป อีกทั้งเมื่อนำมาใช้แล้วก็มีของเสียเกิดขึ้น ของเสียนี้จะมีผลทำให้เกิดปัญหามลภาวะเกิดขึ้น
ดังนั้นเพื่อกำจัดการสิ้นเปลืองของทรัพยากรธรรมชาติ และป้องกันการเกิดของเสียขึ้น อนึ่ง การศึกษาวิทยา
ศาสตร์สิ่งแวดล้อมจึงต้องเน้นเรื่องชนิดของสิ่งแวดล้อมที่จะมีอยู่ในระบบสิ่งแวดล้อมนั้นต้องมีหลายชนิดคละกัน
มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน (interrelation) และอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยต่อกันและกัน (interdependence) หรืออยู่
อย่างพึ่งพาอาศัยกัน (symbiosis) โดยมีปริมาณของทุกชนิดของ สิ่ง (แวดล้อม) ในสัดส่วนที่สามารถทำให้ระบบสิ่ง
แวดล้อมนั้นสามารถคงสภาพตัวเอง (self maintenance) และรักษาตัวเอง (self regulation) ได้ตลอดไป ซึ่งการ
ศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตระหนักถึงความสัมพันธ์ และความสำคัญดังกล่าวนี้อย่างยิ่ง
ในคำนิยามนั้นมิใช่ว่าจะพิจารณา ชนิด ปริมาณ และสัดส่วน และสิ่งแวดล้อม ต่างๆต่อมนุษย์โดยตรงแต่เพียง
แง่เดียวก็หาไม่ แต่ยังคงพิจารณาถึง ชนิด ปริมาณ และสัดส่วนของสิ่ง (แวดล้อม) อื่นๆที่ไม่มีมนุษย์เกี่ยวข้องโดยตรง
คือในสภาพธรรมชาติที่ไม่มีมนุษย์ยุ่งเกี่ยวด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมนั้นเป็นการ
ศึกษาสิ่งแวดล้อมของสิ่งต่างๆที่อาจมิใช่มนุษย์ ทั้งอยู่โดดเดี่ยว หรืออยู่เป็นระบบที่จะมีบทบาทโดยตรง หรือต่อมนุษย์
ไม่มีทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งเป็นการศึกษาสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวมนุษย์ (อาจเป็นคนใดคนหนึ่ง) สิ่งที่กล่าวนี้อาจเป็น
ทั้งพืชสัตว์ ทะเล น้ำ ดิน อากาศ ฯลฯ และต้องการศึกษาพฤติกรรมของสิ่งเหล่านี้ที่มีต่อตัวเอง หรือต่อกลุ่มของตนเอง
หรือต่อมนุษย์แล้ว พฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งเหล่านี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยอาศัยหลักการทาววิทยาศาสตร์เป็น
พื้นฐานอีกด้วย อย่างไรก็ดี การศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมนั้นมุ่งที่จะให้ผู้ศึกษามีความรู้และมีความเข้าใจ จน
สามารถนำความรู้ไปใช้ในการกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมได้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้กับแบบฉบับของชีวิต
(life stye) หรือนำไปปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอาศัยอยู่ให้เหมาะต่อคุณภาพชีวิตที่ดี (quality of life) หรือภาษา
ชาวบ้านเรียกว่า "อยู่ดี กินดี" นั่นเอง
สาระสำคัญพื้นฐานเพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อม
จึงพอเป็นที่ทราบได้แล้วว่า การศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมนั้น เป็นการศึกษาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ
มนุษย์ อาจเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีหรือเลว สามารถเห็นได้หรือเห็นไม่ได้ สวยงามหรือน่าเกลียด เป็นวัสดุเพื่อใช้ผลิต
ปัจจัยสี่ หรือปัจจัยสี่โดยตรง ทัศนียภาพ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งนั้น อาจเกี่ยวโดยตรงหรือ
เกี่ยวข้องโดยทางอ้อมก็ได้ ดังนั้นขอบเขตและสาระในการศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจึงเป็นการศึกษากว้างขวาง
มาก แต่มีหลักการในการกำหนดข้อจำกัดอยู่ที่ต้องศึกษาสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆ ตัวมนุษย์
แหล่งข้อมูลดีๆ จาก: http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi1/edu-envn.htm
แหล่งข้อมูล http://www.vcharkarn.com/lesson/1641
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น