วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

วิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อม


วิทยาการคอมพิวเตอร์


ความหมายทางวิทยาศาสตร์


ข้อสอบบทที่ 5

แบบทดสอบเรื่อง ดาวฤกษ์

1. ธาตุที่เป็นองค์ประกอบมากที่สุดของดาวฤกษ์คือธาตุใด
    1.ธาตุไฮโดรเจน             
    2.ธาตุไนโตรเจน
    3.ธาตุออกซิเจน             
    4.ธาตุคาร์บอน

2. สิ่งที่เหมือนกันของดาวฤกษ์แต่ละดวง คือ
    1. พลังงานและส่วนประกอบ             
    2. แหล่งกำเนิดและส่วนประกอ
    3. พลังงานและแหล่งกำเนิด             
    4. สีและแหล่งกำเนิด

3.ดาวฤกษ์แต่ละดวงจะมีความแตกต่างกันในด้านใด
   1. มวล อุณหภูมิผิว สี             
   2. ระยะห่าง ขนาด  ความสว่าง
   3. องค์ประกอบทางเคมี             
   4. ถูกหมดทุกข้อ

4.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับดาวฤกษ์
   1.ดาวฤกษ์เกิดจากการยุบรวมตัวกันของเนบิวลา
   2.ดาวฤกษ์ทุกดวงจะมีสีขาวเหมือนกันทุกดวง
   3.มวลของดาวฤกษ์มีความสัมพันธ์กับสีของดาวฤกษ์
   4.ดาวฤกษ์จะให้กำเนิดธาตุเรเดียม ธาตุฮีเลียม

5.สภาวะเอื้อชีวิต ธาตุพื้นฐานที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตมีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เป็นต้น จากธาตุดังกล่าวนี้ธาตุที่สำคัญที่สุดคือ
   1.คาร์บอน   
   2.ไฮโดรเจน   
   3.ออกซิเจน     
   4. สำคัญเท่ากัน

ข้อสอบบทที่ 4

ระบบนิเวศ

1.  ระบบนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบใด
      ก.  สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มีชีวิต  สิ่งแวดล้อม
      ข.  สิ่งมีชีวิต,  สิ่งแวดล้อม
      ค.  สิ่งไม่มีชีวิต,  สิ่งแวดล้อม
      ง.  สิ่งมีชีวิต,  สิ่งไม่มีชีวิต

2.  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศได้แก่ปัจจัยใดบ้าง
      ก.  ปัจจัยทางชีวภาพ,  ปัจจัยทางเคมี
      ข.  ปัจจัยทางชีวภาพ,  ปัจจัยทางกายภาพ
      ค.  ปัจจัยทางกายภาพ,  ปัจจัยทางเคมี
      ง.  ปัจจัยทางเคมี,  ปัจจัยอื่นๆ

3.  ระบบนิเวศหมายถึงข้อใด
      ก.  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต
      ข.  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
      ค.  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
      ง.  ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมกับสิ่งไม่มีชีวิต

4.  องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศตรงกับข้อใด
      ก.  ผู้ผลิต,  ผู้บริโภค,  ผู้ย่อยสลาย
      ข.  ผู้ผลิต,  ผู้บริโภค
      ค.  ผู้บริโภค,  ผู้ย่อยสลาย
      ง.  ผู้ผลิต,  ผู้ย่อยสลาย

5.  ปัจจัยชีวภาพในระบบนิเวศหมายถึงข้อใด
      ก.  สิ่งมีชีวิต
      ข.  สิ่งแวดล้อม
      ค.  สิ่งไม่มีชีวิต
      ง.  อุณหภูมิและความชื้น

ข้อสอบบทที่ 3

ระบบสุริยะ

1. เราใช้กลุ่มดาวใดบ้างในการสังเกตดาวเหนือ

 ก.กลุ่มดาวจระเข้ และกลุ่มดาวนายพราน
 ข. กลุ่มดาวพิณ  และกลุ่มดาวค้างคาว
 ค. กลุ่มดาวจระเข้และกลุ่มดาวค้างคาว
 ง. กลุ่มดาวค้างคาวและกลุ่มดาวนายพราน

2. ข้อใดคือดาวเคราะห์วงใน

 ก. ดาวเสาร์และดาวพุธ
 ข. ดาวพุธและดาวอังคาร
 ค. ดาวอังคารและดาวพฤหัส
 ง. ดาวพุธและดาวศุกร์

3. ดาวเหนืออยู่ในกลุ่มดาวอะไร

 ก .กลุ่มดาวพิณ
 ข. กลุ่มดาวช้าง
 ค. กลุ่มดาวค้างคาว
 ง. กลุ่มดาวหมีเล็ก

4. ดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือดาวอะไร

 ก. ดาวเสาร์
 ข. ดาวอังคาร
 ค. ดาวพฤหัส
 ง. ดาวยูเรนัส

5. กลุ่มดาวจักราศีประจำราศีมีนคือกลุ่มดาวอะไร

 ก. กลุ่มดาวปลา
 ข. กลุ่มดาววัว
 ค. กลุ่มดาวสิงโต
 ง. กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ


6. ดาวที่ได้ฉายาว่า  เตาไฟแช่แข็ง  คือดาวเคราะห์ดวงไห

 ก. ดาวอังคาร
 ข. ดาวศุกร์
 ค. ดาวพุธ
 ง. ดาวเสาร์

7. ดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างดาวเคราะห์คู่ใด

 ก . ดาวพุธและดาวศุกร์
 ข. โลกและดาวอังคาร
 ค. ดาวอังคารและดาวพฤหัส
 ง. ดาวพฤหัสและดาวเสาร์

8. แกนโลกเอียงทำมุมกี่องศา

 ก. 20.5  องศา
 ข. 21.5  องศา
 ค. 23.5  องศา
 ง. 24.0  องศา

9. 1  หน่วยดาราศาสตร์มีค่าประมาณเท่าใด

 ก. 148   ล้านกิโลเมตร
 ข. 149  ล้านกิโลเมตร
 ค. 150  ล้านกิโลเมตร
 ง. 151  ล้านกิโลเมตร

10. ดาวเคราะห์หินมีกี่ดวง

 ก. 2
 ข. 3
 ค. 4
 ง. 5

เฉลยข้อสอบ
1 ค 2 ง 3 ง 4 ค 5 ก 6 ค 7 ค 8 ค 9 ค 10 ค

ข้อสอบบทที่ 2

อุตุนิยมวิทยา
  1. มีฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานานหรืออาจจะหลายวัน เป็นฝนที่เกิดจากเมฆตระกูลใด
    1.   Stratocumulus(Sc)
    2.   Altostratus(As)
    3.   Cirrus(Ci)
    4.   Cumulus(Cu)
  2. เมฆตระกูลใดมีลักษณะคล้ายฝูงแกะ
    1.   Stratocumulus(Sc)
    2.   Altostratus(As)
    3.   Stratus(St)
    4.   Altocumulus(Ac)
  3. เมฆตระกูลใดที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เมฆทรงกลด
    1.   Cirostratus(Cs)
    2.   Altostratus(As)
    3.   Stratus(St)
    4.   Stratocumulus(Sc)
  4. เมฆตระกูลใดที่มีอนุภาคของน้ำเพียงอย่างเดียว
    1.   Cirostratus(Cs)
    2.   Stratus(St)
    3.   Cirrus(Ci)
    4.   ถูกทุกข้อ
  5. การประมาณจำนวนของเมฆบางชนิดหรือเมฆทุกชนิดที่ปกคลุมท้องฟ้าโดยแบ่งท้องฟ้าออกเป็นกี่อ๊อกต้า
    1.   10 อ๊อกต้า
    2.   9 อ๊อกต้า
    3.   8 อ๊อกต้า
    4.   7 อ๊อกต้า
  6. เมฆและหมอกแตกต่างกันอย่างไร
    1.   ฐานของเมฆอยู่ติดพื้นดิน แต่ฐานของหมอกอยู่เหนือพื้นดิน
    2.   เมฆมีได้หลายสีมีรูปร่างต่างๆ มากมาย แต่หมอกมีสีขาว
    3.   ฐานของเมฆอยู่เหนือพื้นดิน แต่ฐานของหมอกอยู่ติดพื้นดิน
    4.   ถูกทุกข้อ
  7. ถ้าพบว่าในท้องฟ้ามีเมฆนิมโบสเตรตัสปกคลุมอยู่อากาศจะมีลักษณะอย่างไร
    1.   ฟ้าแลบ
    2.   ท้องฟ้าครึ้ม
    3.   ฝนฟ้าคะนอง
    4.   ท้องฟ้าโปร่ง
  8. ข้อใดคือลักษณะพิเศษของเมฆซีร์โรคิวมูลัส
    1.   ท้องฟ้าครึ้ม
    2.   จะมีฝนฟ้าคะนอง
    3.   ทำให้เกิดฝนตกปรอยๆ
    4.   ท้องฟ้าแจ่มใส
  9. เมฆฝนฟ้าคะนอง หมายถึงเมฆในข้อใด
    1.   Cumulus(Cu)
    2.   Cumulonimbus(Cb)
    3.   Nimbostratus(Ns)
    4.   Stratus(St)
  10. องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก(WMO) ได้กำหนดกฎเกณฑ์ในการจัดจำแนกของเมฆที่อยู่ใน
    ชั้นบรรยากาศใด
    1.   มีโซสเฟียร์
    2.   สตราโทสเฟียร์
    3.   โทรโพสเฟียร์
    4.   เทอร์โมสเฟียร์
  11. ใครเป็นคนจัดจำแนกเมฆให้เป็นระบบที่ใช้แพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
    1.   จูเซปเปเมร์กัลป์ลี(Guiseppe Mercalli)
    2.   ลุค เฮาเอิร์ด(luke Howard)
    3.   เอฟ. นิวแมนน์(F. Neumann)
    4.   ผิดทุกข้อ
  12. Viraga หมายถึงข้อใด
    1.   เมฆที่บังดวงอาทิตย์แล้วจะทำให้เห็นดวงอาทิตย์เป็นสีซีด
    2.   เมฆที่ทำให้เกิดวงแสง (halo)
    3.   ฝนที่ตกใต้ฐานเมฆแต่ตกไม่ถึงพื้นดิน
    4.   ถูกทุกข้อ
  13. เมฆตระกูลใดหากบังดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางแสงเช่นโคโรนา
    หรือปรากฏการณสีรุ้ง
    1.   Altostratus(As)
    2.   Nimboatratus(Ns)
    3.   Cirrostratus(Cs)
    4.   Stratus(St)
  14. คอนเทรล (Contrail) คือเมฆชนิดใด
    1.   เมฆที่ก่อตัวอยู่ในระดับสูงที่สุดมีลักษณะเป็นเส้นคล้ายใยไหม เหมือนขนนก
    2.   เมฆที่กระจายออกเป็นริ้วโค้ง ๆ เหมือนกับหางของม้า เนื่องจากกระแสลม
    3.   เมฆที่เกิดจากความร้อนของเครื่องบินไอพ่นมีลักษณะเป็นเส้นพาดท้องฟ้า
    4.   ถูกทุกข้อ
  15. เมฆมีประโยชน์อย่างไร
    1.   สะท้อนคลื่นวิทยุ
    2.   กรองรังสีอัลตราไวโอเลต
    3.   ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ
    4.   ถูกทุกข้อ
เฉลย
1 B 2 D 3 A 4 B 5 C 6 C 7 B 8 D 9 B 10 C 11 B 12 C 13 C 14 C 15 D